ปัจจุบันรถมอเตอร์ไซค์กำลังเป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น มอเตอร์ไซค์ บิ๊กไบค์ในสไตล์ sport bike, cruiser bike หรือ สกูตเตอร์ ซึ่งการดูแลบำรุงรักษารถคู่ใจให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของยางมอเตอร์ไซค์ ที่ถือเป็นส่วนสำคัญต่อการขับขี่และความปลอดภัย หากยางรถมอเตอร์ไซค์อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
ดังนั้นเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนยาง ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ทุกคนควรต้องใส่ใจและมีความรู้ความเข้าใจ ว่าควรใช้ยางมอเตอร์ไซค์แบบไหน ยี่ห้อไหนดี หรือยางรถมอเตอร์ไซค์ของเรานั้นจัดอยู่ในประเภทไหน
ยางมอเตอร์ไซค์มี่กี่ประเภท ยางรถมอเตอร์ไซค์ จะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลาย อย่างเช่น หากแบ่งตามลักษณะของรถมอเตอร์ไซค์ และรูปแบบของการใช้งานก็จะแยกได้เป็น 7 ประเภทด้วยกัน
1.ยางมอเตอร์ไซค์ Cruiser/Touring Tires
ยางมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักของรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่สำหรับสายทัวร์ริ่ง ยางเหล่านี้จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีการยึดเกาะที่ดีสำหรับสภาพพื้นผิวที่เปียก แก้มยางถูกออกแบบมาให้มีความแข็งเพื่อรองรับงานหนักของตัวรถและสัมภาระ นอกจากโครงสร้างตัวยางที่แข็งแรงแล้วยังมีดอกยางที่ลึกเพื่อระยะทางที่ดีขึ้นและการสึกหรอที่น้อยลงเมื่อเทียบกับยางรถมอเตอร์ไซค์ประเภทอื่น ๆ
2.ยางมอเตอร์ไซค์ Dual Sport/ADV/All-Terrain Tyres
ยางประเภทนี้เป็นยางที่เห็นได้ในรถมอเตอร์ไซค์แบบดูอัลสปอร์ตหรือผจญภัยหลายรุ่น เช่น KTM 1290 Super Adventure, Honda Africa Twin เป็นต้น โดยทั่วไปยางประเภทนี้จัดอยู่ในหมวดยางออฟโรดประมาณ 70% ขับขี่บนถนนทั่วไป 30% ตัวยางจะยึดเกาะได้ดีบนถนนทั่วไป แต่จะยึดเกาะได้ดีที่สุดบนถนนขรุขระ ดินโคลน ทราย หรือลูกรัง
3.ยางมอเตอร์ไซค์ Sport/Super Sport/Hyper-Sport/Performance Tires
ยางสำหรับมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์สไตล์สปอร์ตสมรรถนะสูง ยางประเภทนี้จะมีดอกยางน้อยกว่ายางมอเตอร์ไซค์ทั่วไปแต่ให้การยึดเกาะได้อย่างดีเยี่ยมบนพื้นผิวธรรมดาหรือพื้นเปียก ยางได้รับการออกแบบมาเพื่อบังคับทิศทางที่ง่ายและการเข้าโค้งที่นุ่มนวลยิ่งขึ้น นอกจากนี้ตัวยางจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะในช่วงเบรกหรือการเข้าโค้ง
4.ยางมอเตอร์ไซค์ Sport-Touring Tyres
เป็นยางมอเตอร์ไซค์ที่ผสมผสานระหว่างยางสมรรถนะสูงและยางทัวร์ริ่ง ซึ่งออกแบบมาให้มีระยะการใช้งานที่ยาวนานและการยึดเกาะที่ดีเยี่ยมเต็มประสิทธิภาพ ยางสปอร์ตทัวร์ริ่งส่วนใหญ่จะมีการออกแบบให้มีความนุ่มที่บริเวณด้านข้างของยางเพื่อช่วยในเรื่องการยึดเกาะเวลาเข้าโค้ง และบริเวณส่วนกลางของยางจะมีความแข็งเพื่อช่วยให้ขับขี่ในระยะไกลที่มั่นคง
5.ยางมอเตอร์ไซค์ Dual Sport/ADV Tires
ยางที่ได้รับการออกแบบสำหรับการขับขี่แบบออฟโรดโดยเฉพาะ ตัวยางถูกผลิตออกมาให้ทำการยึดเกาะได้ดีในพื้นผิวที่เป็นโคลน ทราย หรือหิน เพราะตัวดอกยางจะมีความลึกมากกว่ายางมอเตอร์ไซค์ทั่วไป นอกจากนี้ตัวยางก็สามารถยึดเกาะได้ดีแม้ใช้งานบนถนนที่มีพื้นผิวปกติ เข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ และรองรับน้ำหนักได้มาก
6.ยางมอเตอร์ไซค์ Racing/Competition Tyres
ยางมอเตอร์ไซค์ชนิดนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยางเทรล หรือ ยางแทร็ก เป็นยางที่ใช้ในสนามแข่งเป็นส่วนใหญ่ ยางประเภทนี้จะทนความร้อนได้สูงกว่ายางทั่วไป เพราะพื้นผิวถนนในสนามแข่งนั้นจะมีความร้อนที่สูงมาก ตัวยางจะมีความนิ่มและพื้นผิวที่เรียบเพื่อการสัมผัสพื้นผิวได้ดี แต่ก็แลกมาด้วยความเสื่อมสภาพที่รวดเร็วนั่นเอง
7.ยางมอเตอร์ไซค์ Street Tyres
ยางมอเตอร์ไซค์สำหรับผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไปที่ไม่ได้ขับขี่ด้วยความเร็วสูง ยางประเภทนี้จะมีเนื้อยางที่ค่อนข้างแข็งแต่ก็แลกมาด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ตัวยางมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงปกติไม่ได้มากเหมือนมอเตอร์ไซค์สำหรับรถแข่ง ยาง Street Tyres ให้การยึดเกาะได้ดีบนพื้นผิวถนนปกติรวมถึงพื้นที่เปียกเพราะมีจำนวนดอกยางที่มาก แต่การเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงนั้นอาจไม่เหมาะสักเท่าไรนักนอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทของยางได้เป็น 2 แบบ ตามลักษณะโครงสร้างของยาง คือยางไบแอส หรือทแยงมุม (Bias Ply Tyre) ยางแบบนี้อาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นยางที่มีโครงสร้างแบบธรรมดา มีลักษณะชั้นผ้าใบที่จัดเรียงทำมุมต่อกัน แต่ละชั้นถูกวางไว้เพื่อให้เส้นใยมีรูปแบบเป็นกากบาท โครงสร้างทั้งหมดมีลักษณะเดียวกัน หน้ายางและแก้มยางมีคุณสมบัติทางกลที่คล้ายกันยางเรเดียล (Radial Tire) ยางแบบเรเดียล คือ ยางที่มีโครงสร้างเป็นแนวรัศมี เส้นใยจะกระจายออกมาจากศูนย์กลางของยาง ส่วนหน้ายางจะทำมาจากชั้นผ้าใบที่ทำเป็นเข็มขัด ซึ่งทำให้หน้ายางและแก้มยางมีลักษณะเฉพาะของตัวเองด้วยโครงสร้างที่แตกต่างกัน ทำให้ยางทั้งสองประเภทให้สมรรถนะที่แตกต่างกัน โดยยางเรเดียลแก้มยางจะอ่อนนุ่มกว่า รอยที่ยางกดพื้นถนนสั้นกว่าแต่กว้างกว่ายางไบแอส ทำให้ยึดเกาะถนนได้ดีกว่าเมื่อเอียงตัวมาก ๆ หรือขณะเข้าโค้ง นอกจากนี้ความดันอากาศที่สัมผัสกับพื้นผิวของยางยังกระจายตัวได้ดีกว่า ซึ่งส่งผลให้การสึกหรอของดอกยางเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นยางทั้งสองแบบจึงเหมาะสมกับรถมอเตอร์ไซค์และลักษณะการขับขี่ที่แตกต่างกันไปด้วย